กระเป๋าชาแนล เรียกได้ว่าเป็นกระเป๋าแบรนด์ในฝันของผู้หญิงทั่วโลก ที่กลายมาเป็นแบบพิมพ์ของผู้หญิงยุคใหม่ ด้วยดีไซน์แฟชั่นที่เรียบหรู ยกระดับให้ชนชั้นสตรีมีคลาสเทียบเท่ากันกับผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องสไตล์หรือการเข้าสังคม ทั้งก่อนและหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความโก้เรียบที่ไม่มีวันตาย และได้ส่งผ่านมามากกว่า 100 ปี
แต่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบว่า ประวัติของกระเป๋าแบรนด์ “ชาแนล” จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากขาดเธอคนนี้ กาเบรียล บอเนอร์ ชาแนล (Gabrielle Bonheu Chanel) หรือที่เรามักรู้จักเธอในชื่อว่า “โคโค่ ชาแนล” (Coco Chanel) นั่นเอง
เปิดประวัติ กาเบรียล บอเนอร์ (Gabrielle Bonheu) เธอคือใคร มีที่มาและความสำคัญอย่างไรต่อแบรนด์กระเป๋าชาแนล
ที่มาของรูปภาพ bossclub.mn
กาเบรียล บอเนอร์ ชาแนล (Gabrielle Bonheu Chanel) คือชื่อเต็ม ๆ ของเด็กผู้หญิงกำพร้าคนหนึ่งในแถบชนบทของฝรั่งเศส ที่ในระยะเวลาต่อมาเธอได้กลายเป็นเจ้าของกระเป๋าแบรนด์เนมระดับโลก ที่ใครหลายคนอาจไม่เชื่อ
เธอเติบโตมาท่ามกลางพี่น้องทั้งชายและหญิงรวมกัน 5 คน พ่อ-แม่ของเธอมีปัญหาระหองระแหงกันมาตลอด แต่พยายามที่จะอยู่ด้วยกันเพื่อรักษาความเป็นครอบครัวเอาไว้ให้ได้นานที่สุด ก่อนที่สุดท้ายแม่ของเธอจะจากไปด้วยวัณโรค
เมื่อนั้นชะตาของเด็กหญิงกาเบรียล บอนเนอร์ได้ถูกพลิก เพราะพ่อของเธอได้ส่งเธอกับพี่น้องผู้หญิงอีก 2 คนไปอยู่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และส่งลูกชายอีก 2 คนไปอยู่ที่ฟาร์มทำชนบทของฝรั่งเศส เพราะเขาไม่อยากมีพันธะในการเลี้ยงลูกใด ๆ ติดตัวไป
นับแต่นั้นเรื่องราวของ กาเบรียล บอเนอร์ ชาแนล (Gabrielle Bonheu Chanel) ก็ค่อย ๆ เริ่มต้นขึ้นบนเส้นทางแห่งวงการแฟชั่น
ที่มาของรูปภาพ vintag.es
เมื่ออายุได้ 12 ปี เธอเริ่มต้นมาอยู่ที่บ้านเด็กกำพร้า และอาศัยความเพียรพยายามของตนเอง ในการเรียนวิชาเย็บปักถักร้อย เธอสามารถตระหนักได้ตั้งแต่เวลานั้น ว่าไม่อาจมีใครสนับสนุนเธอได้อีกแล้วหากขาดไร้พ่อ-แม่คอยยืนมองอยู่ข้างหลัง เธอจึงต้องพึ่งพาตนให้เองได้มากที่สุด ความคิดนั้นผลักดันให้เธอขยันกว่าหญิงสาวคนอื่น ๆ ในบ้านเด็กกำพร้า
เธอยึดงานเย็บปักถักร้อยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 18 ปี เธอได้เข้าทำงานในร้านตัดเย็บเสื้อผ้า และใช้โอกาสที่เธอได้รับนี้ ศึกษาเนื้อผ้าแบบต่าง ๆ ภายในร้านจนแตกฉานช่ำชอง
แม้งานเย็บปักและตัดเสื้อผ้าจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเธอ แต่รายได้ก็ยังไม่ได้มากพอจนทำให้เธอมีฐานะที่ดีขึ้น ดูไม่ใกล้เคียงกับเจ้าของแบรนด์กระเป๋าชาแนลเลยแม้สักนิด ในช่วงนั้นเธอจึงตัดสินใจรับงานเสริม ด้วยการร้องเพลงตามคาเฟ่หลังเลิกงาน
แม้เธอจะไม่ใช่นักร้องอาชีพ แต่หลายคนยืนยันเป็นเสียงเดียวว่าเธอมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ จนในวันหนึ่งเธอได้ร้องเพลง “Qui qa’a vu Coco” (กิตาวู โคโค่) เพลงที่ทำให้ใครหลายคนตราตรึงและจดจำเธอได้ขึ้นใจ
จึงทำให้เธอได้รับสมญานามว่า “โคโค่ ชาแนล” (Coco Chanel) ชื่อเรียกเล่น ๆ ที่เรามักคุ้นกันเป็นอย่างดีนั่นเอง
กระเป๋าชาแนล ถือกำเนิดขึ้นในช่วงชีวิตขาขึ้นของเธอหลังจากนั้นเพียงไม่นาน โดยมีผู้ชายนามว่า “Arthur Edward (Boy) Capel” เป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลัง บอยส่งเสริมให้โคโค่ทำผลิตภัณฑ์ออกสู่สายตาผู้คน ยกระดับดีไซน์ให้ชายและหญิงมีความเท่าเทียม ส่งผลให้โคโค่หยิบจับงานต่าง ๆ ขึ้นมาศึกษา และขยายผลเป็นกระเป๋าแบรนด์เนมระดับโลก ในชื่อ ชาแนล (Chanel)
Arthur Capel ชายผู้ผลักดันและเป็นรักแท้ของ Coco Chanel
Dior แรงผลักดันลูกใหญ่ ที่ทำให้กระเป๋าชาแนลกลายเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับโลก
อย่างไรก็ดี หลังจากที่บอยได้ส่งผลขยายให้โคโค่หยิบจับชิ้นงานต่าง ๆ ของเธอขึ้นมาทำเป็นสินค้า จนสามารถเปิดร้านเป็นของตัวเองในฐานะกูตูริเยร์ได้อย่างเป็นทางการ โดย Chanel Boutique สาขาแรกอยู่ที่ 31 rue Combon Paris ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และทำให้เธอมีชื่อเสียงในแวดวงแฟชั่นขึ้นมาเรื่อย ๆ จนหยุดไม่อยู่
Chanel Boutique สาขา Cambon Paris
แต่แล้วกราฟชีวิตของเธอก็ต้องดิ่งลง เมื่อ “Boy Capel” คู่ชีวิตและคู่คิดของเธอเกิดอุบัติเหตุจนเสียชีวิตลง และในอีกไม่กี่ปีต่อมาก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แบรนด์ในฝรั่งเศสหลายแบรนด์เข้าสู่ขั้นวิกฤติ รวมไปถึงแบรนด์อย่างชาแนลด้วยเช่นกัน กว่าสงครามโลกจะจบลง ก็คล้ายกลับว่าแบรนด์ชาแนลจะถูกลืมเลือนไปอย่างไม่มีวันหวนมาเสียแล้ว
แต่วิกฤติในครั้งนี้กลับพลิกโอกาสให้เธอเป็นอย่างมาก เพราะมันได้พิสูจน์แล้วว่า ชาแนล (Chanel) ไม่มีวันตาย เพราะหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง เรื่องของแฟชั่นคล้ยาจะเป็นเรื่องซบเซาสำหรับผู้คน ตัวเธอเองถูกเนรเทศไปอยู่สวิตเซอร์แลนด์นานถึง 8 ปี และดูไม่มีท่าทีในการทำให้แบรนด์เธอหวนกลับคืนส่งวงการได้เลย
แต่แล้วอิทธิพลจากห้องเสื้อ Dior ที่ออกคอลเลคชัน New Look ในปีค.ศ. 1947 ก็จุดประกายโลกทั้งใบให้กลับมาหลงใหลในแฟชั่นอีกครั้ง รวมทั้งจุดประกาย โคโค่ ชาแนล (Coco Chanel) ให้กลับเข้าสู่วงการแฟชั่นเช่นกัน
Christian Dior ผู้นำวงการแฟชั่นกลับมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยเธอใช้แรงผลักดันนั้นเปลี่ยนโฉมคอลเลคชันเสื้อผ้าแบบเดิมที่เธอเคยดีไซน์ไว้ ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงกระเป๋าชาแนลให้มีความเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น ด้วยการใส่โซ่ทองลงไปที่สาย ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากชุดเอี๊ยมสมัยที่เธอยังอยู่บ้านเด็กกำพร้า
ผนวกกับความเธอชอบสูบบุหรี่ของเธอ เธอจึงอยากใช้งานกระเป๋าที่สามารถสะพายได้และสามารถหยิบจับได้ถนัด จึงกลายเป็นจุด Unique ของกระเป๋า Chanel 2.55 ถือกำเนิดในปีค.ศ. 1929 ที่ไม่มีกระเป๋าแบรนด์เนมแบรน์ไหนมาเหมือนได้เลย
Chanel 2.55 หรือ รุ่น reissue ที่คนไทยเรียกกัน
กระเป๋าชาแนล ผ่านเรื่องราวและประวัติศาสตร์มากมายด้วยสตรีทรงอิทธิพลคนหนึ่งของโลกอย่าง โคโค่ ชาแนล (Coco Chanel) ที่เป็นจุดพลิกผันวงการแฟชั่นไปตลอดกาล แม้กระทั่งในวาระสุดท้ายของชีวิตเธอ โคโค่ ชาแนล (Coco Chanel)ยังตั้งใจสร้างผลงานชิ้นโบแดงออกมาให้ชาวโลกได้ประจักษ์ นั่นก็คือ “กางเกง” กางเกงแบบพิมพ์แรกทรงกระบอกคล้ายบุรุษในปีค.ศ. 1971 ที่ทำให้ผู้หญิงก้าวเข้าสู่ยุคร่วมสมัยอย่างแท้จริง และแสดงออกได้ว่าชนชั้นสตรีก็สามารถสวมกางเกงได้เช่นเดียวกับชาย ถือเป็นการปฏิวัติวงการแฟชั่นและบทบาทของสตรีที่มีผลต่อโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เธอจากไปด้วยโรคชราในวัย 87 ปี แต่กระเป๋าแบรนด์ชาแนลยังคงไม่หยุดยั้งการพัฒนา เพราะหลังจากนั้น “คาร์ล ลาเกอร์ฟิลด์” (Karl Lagerfeld) ดีไซน์เนอร์ชื่อดังได้เข้ามามีส่วนบริหารแบรนด์ชาแนลต่อจากลูกชายของเธอ ทำให้มีสินค้าที่ฮอตฮิตมากมายถือกำเนิดขึ้นอีกหลังจากนั้น และมียอดขายถล่มทลายต่อเนื่อง สืบมาจนถึงปัจจุบัน